ประวัติ ของ วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า

วัคซีนสร้างขึ้นอาศัยการร่วมมือกันระหว่างสถาบันเจนเนอร์ (Jenner Institute) แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและแวกซี่เทค (Vaccitech) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีรากฐานจากมหาวิทยาลัย โดยได้ทุนจากบริษัทร่วมลงทุน Oxford Sciences Innovation, Google Ventures และ Sequoia Capital เป็นต้น[67]วัคซีนชุดแรก ๆ ที่ผลิตเพื่อทดลองทางคลินิกได้พัฒนาขึ้นโดยสถาบันเจนเนอร์และกลุ่มวัคซีนที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford Vaccine Group) โดยร่วมมือกับบริษัทอิตาลี Advent Srl ในกรุงโรม[68]ผู้นำทีมเด่น ๆ รวมทั้ง Sarah Gilbert, Adrian Hill, Andrew Pollard, Teresa Lambe, Sandy Douglas และ Catherine Green[69][68]

การพัฒนาระยะต้น ๆ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 สถาบันเจนเนอร์ได้ตกลงร่วมมือกับบริษัทอิตาลี Advent Srl[70]เพื่อผลิตวัคซีนแคนดิเดต 1,000 โดสแรกให้ใช้ในการทดลองทางคลินิก

ในเดือนมีนาคม 2020[71][72]หลังจากที่มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ได้กระตุ้นให้มหาวิทยาลัยหาผู้ร่วมงานเป็นบริษัทขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาและนำวัคซีนเข้าตลาด มหาวิทยาลัยจึงกลับคำมั่นที่ให้ไว้ก่อนว่าจะบริจาคสิทธิวัคซีนให้แก่ผู้ผลิตยาใดก็ได้[73]ต่อจากนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรก็สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าแทนที่จะทำกับบริษัทเมอร์ค เพราะรัฐมนตรีอังกฤษเป็นห่วงว่าวัคซีนที่ผลิตในสหรัฐอาจไม่ส่งให้สหราชอาณาจักร อนึ่ง อาจมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ด้วยที่ทำให้มหาวิทยาลัยเข้าร่วมมือกับแอสตร้าเซนเนก้า[74][75]

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ตกลงเรื่องสิทธิเบื้องต้นกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าในเดือนพฤษภาคม 2020 เพื่อให้ผลิตวัคซีน 1 พันล้านโดสโดยไม่มีผลกำไรและสหราชอาณาจักรจะได้รับวัคซีนก่อน 100 ล้านโดสอนึ่ง สหรัฐก็ได้จองวัคซีน 300 ล้านโดสด้วยโดยบวกกับการได้สิทธิเพื่อทำการทดลองระยะที่ 3 ในสหรัฐรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ให้ทุน 68 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 2,695 ล้านบาท) และรัฐบาลสหรัฐ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 37,236 ล้านบาท) เพื่อใช้พัฒนาวัคซีน[76]ในเดือนมิถุนายน 2020 สถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (US National Institute of Allergy and Infectious Diseases, NIAID) ได้ยืนยันว่า การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 สำหรับวัคซีนจะเริ่มในเดือนกรกฎาคม 2020[77]

วันที่ 4 มิถุนายน แอสตร้าเซนเนก้าประกาศว่าโปรแกรมโคแวกซ์ที่องค์การอนามัยโลกบริหารโดยได้รับเงินทุนจากเซพี (CEPI) และกาวีได้ลงทุน 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 23,273 ล้านบาท) เพื่อจองวัคซีน 300 ล้านโดสไปแจกจำหน่ายให้แก่ประเทศรายได้น้อย[78][79]

การทดลองทางคลินิก

ในเดือนกรกฎาคม 2020 บริษัทได้ร่วมกับบริษัท IQVIA ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติผู้ทำกิจการในการทดลองทางคลินิก เพื่อเร่งการทดลองในสหรัฐ[80]ในวันที่ 31 สิงหาคม 2020 บริษัทประกาศว่า ได้เริ่มรับอาสาสมัคร 30,000 คนในการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งรัฐบาลสหรัฐเป็นผู้ให้ทุน[81]

ในวันที่ 8 กันยายน 2020 บริษัทได้หยุดการทดลองทั่วโลกเพื่อตรวจสอบผลไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับอาสาสมัครในสหราชอาณาจักร[82][83][84]ต่อมาวันที่ 13 กันยายน จึงได้ดำเนินการต่อในสหราชอาณาจักรหลังจากเจ้าหน้าที่ควบคุมของรัฐสรุปว่า ปลอดภัย[85]หลังจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้วิจารณ์ความปลอดภัยของวัคซีนโดยให้ข้อสังเกตว่า บริษัทไม่ยอมให้รายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาทางประสาทที่รุนแรงของอาสาสมัครสองคนที่ได้วัคซีนในบริเตน[86]แม้การทดลองจะดำเนินต่อไปในสหราชอาณาจักร บราซิล แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น[87]และอินเดีย แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการต่อในสหรัฐจนถึงวันที่ 23 ตุลาคม[88]เพราะกำลังตรวจปัญหากับอาสาสมัครคนหนึ่ง[89]

ผลการทดลองระยะที่ 3

ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2020 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าได้ประกาศผลในระหว่างการทดลองระยะที่ 3 (interim)[90]โดยวิธีที่ใช้คำนวณประสิทธิศักย์ของวัคซีนก็ถูกวิจารณ์ เพราะรวมค่าอัตราร้อยละ 62 กับร้อยละ 90 จากกลุ่มทดลองต่าง ๆ ที่ได้ยาในขนาดต่าง ๆ จนได้ผลลัพธ์เป็นอัตราร้อยละ 70[91][92][93]บริษัทจึงกล่าวว่า จะทำการทดลองในประเทศต่าง ๆ โดยใช้ขนาดยาที่ต่ำกว่าซึ่งให้ผลร้อยละ 90[94]

การตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ในระหว่างอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 8 ธันวาคม 2020 จากการทดลองที่กำลังทำอยู่ 4 แห่ง ซึ่งเป็นการทดลองแบบอำพราง แบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม แสดงผลของวัคซีนอย่างชัดเจนขึ้น[95]ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโดสแรกเกิน 21 วันแล้ว ไม่มีการเข้า รพ. หรือเกิดโรคที่รุนแรง ไม่เหมือนกับกลุ่มควบคุมที่เกิดกรณีถึง 10 รายเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์และรุนแรงเกิดขึ้นประมาณเท่า ๆ กันระหว่างกลุ่มที่ได้วัคซีนกับกลุ่มควบคุม คือไม่จัดว่าวัคซีนก่ออาการต่าง ๆ เกินอัตราที่มีอยู่โดยธรรมชาติมีรายงานว่าเกิด transverse myelitis (TM) กับอาสาสมัครคนหนึ่งหลังจากได้วัคซีนโดสที่สองโดยอาจเกี่ยวกับวัคซีน และคณะประสาทแพทย์อิสระก็ได้วินิจฉัยว่า น่าจะเกิดความเสียหายที่ปลอกไมอีลินของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง (spinal cord demyelination) ช่วงสั้น ๆ ที่ไม่รู้สาเหตุมีกรณี TM อีกสองกรณี กรณีหนึ่งในกลุ่มที่ได้วัคซีน อีกกรณีหนึ่งในกลุ่มควบคุม คณะประสาทแพทย์พิจารณาทั้งสองกรณีนี้ว่าไม่เกี่ยวกับการได้วัคซีน[95]

งานวิเคราะห์ต่อมาที่ตีพิมพ์วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2021 แสดงประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ร้อยละ 76 ในการป้องกันการติดเชื้อที่แสดงอาการเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 วันหลังจากฉีดโดสแรกและร้อยละ 81.3 หลังจากฉีดโดสที่สองถ้าฉีดโดสที่สอง 12 สัปดาห์หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[22]แต่ผลไม่ได้แสดงว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการหลังจากฉีดแค่โดสเดียว[22]เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 หลังจากฉีดวัคซีนโดสที่สองตามกำหนดโดยมีระยะเวลาห่างจากโดสแรกต่าง ๆ กัน ผลแสดงว่าวัคซีนมีประสิทธิศักย์ร้อยละ 66.7 ในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ แต่การป้องกันการติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการก็ไม่ปรากฏผลที่ชัดเจน[22]ประสิทธิศักย์ดีกว่าถ้าระยะเวลาระหว่างโดสมากกว่า โดยสูงสุดราว ๆ ร้อยละ 80 เมื่อให้โดสที่สอง 12 สัปดาห์หรือยิ่งกว่าหลังจากโดสแรก[22]

ในวันที่ 22 มีนาคม 2021 บริษัทประกาศผลในระหว่างของการทดลองระยะที่ 3 ซึ่งทำในสหรัฐและระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการที่ร้อยละ 79 และการติดเชื้อแบบมีอาการรุนแรงและแบบที่ต้องเข้า รพ. เต็มร้อย[96]แต่ในวันต่อมา สถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ก็ประกาศคัดค้านว่า ผลนั้นอาจอาศัย "ข้อมูลเก่า" ซึ่งอาจทำให้เข้าใจข้อมูลประสิทธิศักย์ได้อย่างไม่สมบูรณ์[97][98][99][100]บริษัทภายหลังจึงแก้ค่าประสิทธิศักย์ของวัคซีนเหลือร้อยละ 76 หลังจากทบทวนข้อมูลอย่างละเอียดยิ่งขึ้น[101]

ในวันที่ 28 มิถุนายน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานผลเบื้องต้นของงานศึกษากับอาสาสมัครอายุน้อยกว่า 55 ปีจำนวน 120 รายที่แสดงว่า การเลื่อนฉีดวัคซีนโดสที่สองไปจนถึง 45 สัปดาห์ทำให้ภูมิต้านทานตอบสนองได้ดีกว่า และการฉีดวัคซีนบูสต์เป็นโดสที่ 3 หลังจากฉีดวัคซีนครบเป็นเวลา 6 เดือนก็ทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนองได้ดีเช่นกันแม้ยังไม่ชัดเจนว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนบูสต์ แต่ผลงานศึกษาช่วยแก้ความกังวลว่า ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสที่ใช้เป็นเวกเตอร์ของวัคซีน ซึ่งก็จะลดฤทธิ์ของวัคซีนที่อาจต้องฉีดทุก ๆ ปี[102]

ประสิทธิภาพของวัคซีนโดสเดียว

ประเทศสกอตแลนด์ทำงานศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคหรือของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าโดสแรก สัมพันธ์กับการเข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยเป็นงานศึกษาตามรุ่นตามแผน (prospective cohort study) กับคนในประเทศ 5.4 ล้านคนในระหว่างวันที่ 8 ธค. 2020 ถึง 15 กพ. 2021 มีผู้ได้รับวัคซีนในงานศึกษานี้ 1,137,775 คนโดย 490,000 คนได้วัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้าซึ่งลดการเข้ารักษาเนื่องกับโควิดใน รพ. ได้ร้อยละ 94 หลังจากได้วัคซีนโดสเดียวที่ 28-34 วันเมื่อรวมวัคซีนเข้าทั้งสองอย่าง วัคซีนโดสแรกลดการเข้ารักษาใน รพ. เนื่องกับโควิดได้อย่างสำคัญ ซึ่งก็ยังเป็นจริงเมื่อจำกัดการวิเคราะห์กับคนที่มีอายุ ≥80 ปีด้วย (ลดได้ร้อยละ 81)โดยคนที่มีอายุเกิน 65 ปีโดยมากได้รับวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า[103]

วัคซีนฉีดทางจมูก

ในวันที่ 25 มีนาคม 2021 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้เริ่มการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 เพื่อตรวจประสิทธิศักย์ของวัคซีนที่ฉีดเข้าทางจมูก[104][105]

การขึ้นทะเบียน

การอนุมัติและสิทธิการได้ความช่วยเหลือจากโคแวกซ์
ดูรายการประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
     อนุมัติเต็มตัว

     อนุมัติเป็นการฉุกเฉิน      ประเทศที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากโคแวกซ์[106]      เลิกใช้

    ประเทศกานาฉีดวัคซีนที่โปรแกรมโคแวกซ์ส่งให้

    ประเทศแรกที่ให้อนุมัติเป็นการชั่วคราวหรือเป็นการฉุกเฉินสำหรับวัคซีนนี้ก็คือ สหราชอาณาจักร คือองค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของประเทศเริ่มทบทวนข้อมูลประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของวัคซีนตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2020[107]แล้วอนุมัติให้ใช้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2020 เป็นวัคซีนที่สองที่ได้อนุมัติให้ใช้ฉีดแก่ประชาชนทั่วไปในประเทศ[108]สำนักข่าวบีบีซีรายงานในวันที่ 4 มกราคม 2021 ว่า ชายอายุ 82 ปีเป็นบุคคลแรกที่ได้รับวัคซีนนี้นอกงานวิจัยทางคลินิก[30]

    ในวันที่ 12 มกราคม 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ได้เริ่มทบทวนข้อมูลวัคซีนโดยระบุในแถลงการณ์ข่าวว่า องค์กรจะออกคำแนะนำในวันที่ 29 มกราคม โดยคณะกรรมาธิการยุโรปก็อาจจะให้อนุมัติวางตลาดขายอย่างมีเงื่อนไขภายในไม่กี่วันต่อมา[109]ในวันที่ 29 มกราคม สำนักงานการแพทย์ยุโรปจึงแนะนำให้อนุมัติวัคซีนสำหรับบุคคลอายุ 18 ปีหรือยิ่งกว่า[1][14]ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปก็ให้อนุมัติในวันเดียวกัน[15][110]แต่ก่อนหน้านี้ สมาชิกสหภาพยุโรปประเทศหนึ่งคือฮังการีได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนก่อนโดยทำเองต่างหาก[111]

    ประเทศที่องค์การอนามัยโลกจัดว่ามีกฎเคร่งครัดในการอนุมัติเวชภัณฑ์ (stringent regulatory authorities) มีการอนุมัติวัคซีนนี้ดังนี้

    อนุมัติและใช้วัคซีน
    • ออสเตรเลีย
    • ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่าง ๆ รวมทั้งออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย ไซปรัส เช็กเกีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิกเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน (ยกเว้นเดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สโลวาเกีย)
    • แคนาดา
    • สหราชอาณาจักร
    อนุมัติแต่ได้ระงับการใช้วัคซีนอย่างไม่มีกำหนด
    • เดนมาร์ก[112]
    • ไอซ์แลนด์[113]
    • นอร์เวย์[113]
    • สโลวาเกีย[114]
    • ญี่ปุ่น[115][116]
    ยังไม่ได้อนุมัติ
    • สหรัฐอเมริกา[117]

    การระงับใช้วัคซีน

    แอฟริกาใต้

    ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2021 โปรแกรมการฉีดวัคซีนนี้ให้แก่ประชาชนได้หยุดชั่วคราวในแอฟริกาใต้เพราะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยของรัฐ (University of Witwatersrand) ในกรุงโจฮันเนสเบิร์กได้ตีพิมพ์ผลวิเคราะห์ในระหว่างที่ยังไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันว่า วัคซีนมีผลป้องกันเพียงเล็กน้อยแม้ต่อโรคที่มีอาการน้อยหรือปานกลางในคนอายุน้อย[118][119]วันต่อมา สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ผู้อำนวยการหน่วยภูมิคุ้มกันที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า เธอรู้สึกว่า "เป็นไปได้จริง ๆ" ที่วัคซีนนี้มี "ผลสำคัญ" ต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้โดยเฉพาะการป้องกันโรคที่รุนแรงและการตาย[120]ข่าวเดียวกันระบุว่า ผู้ช่วยแพทย์ผู้ปรึกษาทางการแพทย์สูงสุด (Deputy Chief Medical Officer for England) ของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า งานศึกษานี้ไม่ได้เปลี่ยนความเห็นของเขาว่า วัคซีนนี้ "น่าจะ" มีผลต่อโรคอาการรุนแรงเหตุไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้[120]ต่อมารัฐบาลแอฟริกาใต้จึงได้ระงับการใช้วัคซีนนี้โดยสิ้นเชิง[121]

    ยุโรป

    ในวันที่ 3 มีนาคม 2021 ออสเตรียหยุดการใช้วัคซีนล็อตหนึ่งชั่วคราวหลังมีคน 2 คนที่เกิดลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนโดยคนหนึ่งเสียชีวิต[122]รวม ๆ กันแล้ว มีกรณีเกิดลิ่มเลือด 4 กรณีในการฉีดวัคซีนชุดเดียวกัน 1 ล้านโดส[122]แม้จะไม่พบความสัมพันธ์โดยเป็นเหตุและผล[123]ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งเดนมาร์ก[124]นอร์เวย์[124]ไอซ์แลนด์[124]บัลแกเรีย[125]ไอร์แลนด์[126]อิตาลี[123]สเปน[127]เยอรมนี[128]ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์[129]และสโลวีเนีย[130]ก็ได้หยุดใช้วัคซีนชั่วคราวเพื่อให้สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ทบทวนข้อมูลความปลอดภัยในกรณีเหล่านี้

    ในเดือนเมษายน 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรปได้ทบทวนความปลอดภัยเสร็จสิ้นโดยสรุปว่า การมีลิ่มเลือดบวกกับเกล็ดเลือดน้อยควรระบุว่าเป็นผลข้างเคียงที่มีน้อยมาก (very rare) โดยยังยืนยันประโยชน์ในภาพรวมของวัคซีน[27][131]หลังจากแถลงการณ์นี้ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจึงได้ฉีดวัคซีนต่อไปโดยบางส่วนได้จำกัดการใช้กับเฉพาะคนชราที่เสี่ยงป่วยหนักจากโควิด-19[32][132]

    ในวันที่ 11 มีนาคม 2021 รัฐบาลนอร์เวย์ได้ระงับการใช้วัคซีนนี้อย่างชั่วคราวเพื่อรอให้ได้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนต่อมาวันที่ 15 เมษายน สถาบันสาธารณสุขแห่งชาตินอร์เวย์แนะนำให้รัฐบาลระงับใช้วัคซีนนี้อย่างถาวรเพราะ "เหตุการณ์ที่มีน้อยแต่รุนแรงคือการมีเกล็ดเลือดต่ำ การเกิดลิ่มเลือด และการตกเลือด" เพราะสำหรับประเทศนอร์เวย์ "ความเสี่ยงตายหลังจากฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้านั้นสูงกว่าความเสี่ยงตายจากโรค โดยเฉพาะในคนผู้มีอายุน้อยกว่า"[133]รัฐบาลจึงประกาศว่าจะรอตัดสินใจแล้วตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้ทำการประเมินรวม ๆ ในเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้อะดีโนไวรัสเป็นเวกเตอร์เช่นกัน)[134][135]ในวันที่ 10 พฤษภาคม คณะผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้หยุดใช้วัคซีนทั้งสองชนิด[136]ในที่สุดวันที่ 12 มีนาคมหลังจากได้หยุดใช้เป็นเวลาสองเดือน นายกรัฐมนตรีของนอร์เวย์ก็ประกาศว่า จะเลิกใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเพื่อฉีดให้ประชาชน โดยผู้ที่ได้วัคซีนนี้เข็มแรกไปแล้ว ก็จะได้รับวัคซีนโควิด-19 อื่นเป็นเข็มที่สอง[137][138][133]

    ในวันที่ 30 มีนาคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขเยอรมนีประกาศว่า สำหรับบุคคลอายุตั้งแต่ 60 ปีลงมา ควรคุยกับผู้รับวัคซีนก่อนจะฉีดวัคซีนนี้ให้[139]โดยผู้อายุน้อยกว่าก็ยังสามารถฉีดวัคซีน แต่ต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของแพทย์ และให้ทำหลังจากตรวจสอบความเสี่ยงแล้วอธิบายให้ผู้รับวัคซีนฟังอย่างละเอียด[139]

    ในวันที่ 14 เมษายน เดนมาร์กหยุดการใช้วัคซีนอย่างไม่มีกำหนด[112][140]โดยระบุว่า ประเทศมีวัคซีนอื่น ๆ ให้ใช้และการระบาดของโรคตอนนี้ก็ยังควบคุมได้[140]อนึ่ง กลุ่มประชากรที่จะฉีดวัคซีนต่อไปของเดนมาร์กยังเสี่ยงน้อยกว่าที่จะติดเชื้อโควิด-19 แบบรุนแรง โดยที่ประโยชน์ของวัคซีนนี้ต้องชั่งเทียบกับความเสี่ยงเกิดผลไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากวัคซีน แม้ความเสี่ยงที่ว่าโดยสัมบูรณ์จะเล็กน้อย[140]

    แคนาดา

    วันที่ 29 มีนาคม 2021 คณะกรรมการที่ปรึกษาเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติแคนาดา (National Advisory Committee on Immunization, NACI) แนะนำว่า ให้หยุดให้วัคซีนแก่บุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 55 ปีโดยประธานคณะกรรมการระบุว่า ความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดสูงกว่าในคนอายุน้อยกว่า และคณะกรรมการจะปรับคำแนะนำเมื่อได้ข้อมูลใหม่ ๆรัฐต่าง ๆ ในแคนาดาโดยมากต่อมาจึงประกาศว่าจะทำตามข้อแนะนำนี้[141][142][143]จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2021 แคนาดามีกรณีเกิดลิ่มเลือดที่เชื่อมกับวัคซีน 3 กรณีจากการฉีดวัคซีน 7 แสนโดส[144][145][146]

    เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 เมษายนภายใต้สถานการณ์คลื่นระบาดลูกที่ 3 รัฐต่าง ๆ รวมทั้งแอลเบอร์ตา บริติชโคลัมเบีย ออนแทรีโอ และซัสแคตเชวันได้ปรับขยายให้ใช้วัคซีนกับคนอายุ 40 ปีและยิ่งกว่าโดยรัฐควิเบกได้ขยายใช้กับคนอายุ 45 ปีและยิ่งกว่า[147][148][149]ข้อแนะนำของคณะกรรมการ NACI ไม่มีผลต่อการอนุมัติของกระทรวงสาธารณสุขที่อนุญาตให้ใช้วัคซีนกับบุคคลอายุเกิน 18 ปีโดยกระทรวงระบุในวันที่ 14 ว่า ได้อัปเดตคำเตือนสำหรับวัคซีนโดยเป็นส่วนของการทบทวนข้อมูลที่ทำอย่างต่อเนื่อง และว่า "โอกาสเสี่ยงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้น้อยมาก (very rare) และประโยชน์ของวัคซีนในการป้องกันโควิด-19 มีมากกว่าโอกาสเสี่ยง"[150]

    ในวันที่ 23 เมษายน เพราะการขาดแคลนวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอบวกกับข้อมูลใหม่ คณะกรรมการจึงแนะนำให้ใช้วัคซีนแก่บุคคลอายุต่ำถึง 30 ปีถ้าเห็นประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงและเมื่อผู้รับวัคซีน "ไม่ประสงค์จะรอวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ"[151]

    ในวันที่ 11 พฤษภาคม จังหวัดต่าง ๆ ประกาศว่าจะหยุดใช้วัคซีนนี้อีกไม่ว่าจะเป็นเพราะขาดแคลนหรือเพราะเกิดลิ่มเลือดโดยบางจังหวัดระบุว่า มีแผนจะใช้วัคซีนนี้เป็นโดสที่สอง และคณะกรรมการ NACI ก็กำลังตรวจสอบประสิทธิศักย์ของการใช้วัคซีนต่างยี่ห้อกันระหว่างโดสแรกกับโดสสอง[152][153][154]

    อินโดนีเซีย

    ในกลางเดือนมีนาคม อินโดนีเซียหยุดการฉีดวัคซีนเพื่อรอคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยจากองค์การอนามัยโลก[155]แล้วต่อมาจึงฉีดวัคซีนต่อในวันที่ 19 มีนาคม[156]

    ออสเตรเลีย

    ในวันที่ 8 เมษายน 2021 ออสเตรเลียอัปเดตคำแนะนำการใช้วัคซีนกับบุคคลอายุต่ำกว่า 50 ปี โดยระบุว่าควรใช้วัคซีนของไฟเซอร์แทนสำหรับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนนี้เลยแต่ก็ยังฉีดวัคซีนให้แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 50 ปีได้เมื่อประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง และเมื่อแพทย์พยาบาลให้คำปรึกษาและรายละเอียดแก่ผู้รับวัคซีนเพื่อการตัดสินใจแล้ว[157][158]

    มาเลเซีย

    ภายหลังที่มาเลเซียได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนนี้ กระทรวงสาธารณสุขต่อมาก็ตัดสินใจไม่ใช้วัคซีนนี้ในโปรแกรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนโดยอัตโนมัติเพราะประชาชนไม่ไว้วางใจ[159]ดังนั้น ในปลายเดือนเมษายน 2021 วัคซีน 268,600 โดสแรกที่ได้จะส่งไปใช้ที่ศูนย์ฉีดวัคซีนพิเศษ ณ รัฐเซอลาโงร์และกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเกิดกรณีโรคเพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยประชาชนจะต้องอาสาสมัครรับวัคซีนเองซึ่งภายในสามชั่วโมงครึ่งที่เปิดให้ลงทะเบียนฉีดวัคซีน ประชาชนก็จองฉีดวัคซีนนี้จนหมดสิ้น[160]

    ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 ล็อตที่สองจำนวน 1,261,000 โดสที่ได้มาก็จัดสรรให้แก่ประชาชนในรัฐเซอลาโงร์ ปีนัง ยะโฮร์ ซาราวัก และกรุงกัวลาลัมเปอร์โดยสำรอง 29,183 โดสไว้เพื่อคนที่ลงชื่อจองไว้ในคราวก่อน และอีก 275,208 โดสเพื่อคนชราที่เหลืออีก 956,609 โดสซึ่งหมายให้คนอายุ 18 ปีและยิ่งกว่า ก็ได้รับการจองจนหมดสิ้นภายใน ชม. เดียว[161]

    การทบทวนความปลอดภัย

    ในวันที่ 11 มีนาคม 2021 สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) แจ้งว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าวัคซีนเป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งยังไม่ได้ระบุว่าเป็นผลข้างเคียงของวัคซีน[122][162]ตามสำนักงาน การเกิดลิ่มเลือดในคนฉีดวัคซีนไม่ได้สูงกว่าที่พบในกลุ่มประชากรทั่วไป[162]จนถึง 11 มีนาคม มีกรณีเกิดลิ่มเลือดเพียง 30 กรณีในบรรดาคน 5 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนนี้ในเขตเศรษฐกิจยุโรป[162]

    ในวันที่ 12 มีนาคม องค์การอนามัยโลกระบุว่า ยังไม่พบความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุผล ดังนั้น จึงควรให้วัคซีนต่อไป[163]ในวันที่ 14 มีนาคม บริษัทแอสตร้าเซนเนก้ายืนยันว่า หลังจากตรวจข้อมูลคน 17 ล้านคนที่ได้วัคซีน ไม่มีหลักฐานว่าเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดมากขึ้นในประเทศทั้งหมด[164]บริษัทรายงานว่า จนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2021 สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรตลอดทั้งหมดมีเหตุการณ์หลอดเลือดดำเกิดลิ่มเลือด (deep vein thrombosis) 15 ครั้งและภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดในปอด (pulmonary embolism) 22 ครั้งในบรรดาผู้ที่ได้วัคซีน ซึ่งจริง ๆ น้อยกว่าที่ปกติเกิดโดยธรรมชาติในกลุ่มประชากรนั้น ๆ[164]ในวันที่ 15 มีนาคม องค์กรควบคุมเวชภัณฑ์ (MHRA) ของสหราชอาณาจักรระบุว่า หลังจากที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 11 ล้านโดส ยังไม่สามารถยืนยันกรณีที่เกิดลิ่มเลือดว่ามีเหตุจากวัคซีน ดังนั้น องค์กรจึงไม่หยุดการให้วัคซีน[165]

    แต่ในวันที่ 15 มีนาคม สถาบันเพาล์แอร์ลิช (Paul Ehrlich Institute, PEI) รายงานว่า จากการฉีดวัคซีน 1.6 ล้านโดส พบการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำในสมอง (cerebral vein thrombosis) พร้อมกับการมีเกล็ดเลือดต่ำ 7 กรณี[166]ตามสถาบัน การเกิดภาวะเช่นนี้หลังฉีดวัคซีนสูงกว่าอย่างสำคัญทางสถิติเทียบกับที่เกิดโดยธรรมชาติในกลุ่มประชากรทั่วไปในระยะเวลาเท่ากัน[166]ซึ่งทำให้สถาบันแนะนำการหยุดใช้วัคซีนชั่วคราวจนกระทั่งสำนักงานการแพทย์ยุโรปตรวจสอบกรณีเหล่านี้ให้เรียบร้อย[167]

    ในวันที่ 17 มีนาคม องค์การอนามัยโลกระบุว่า วัคซีนนี้ยังมีประโยชน์ยิ่งกว่าโอกาสเสี่ยง จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนต่อไป[168]ในวันที่ 18 มีนาคม สำนักงานการแพทย์ยุโรปประกาศว่า จากคน 20 ล้านคนที่ได้วัคซีน อัตราการเกิดลิ่มเลือดทั่วไปอยู่ในระดับปกติ แต่ก็พบกรณี disseminated intravascular coagulation (การเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย) 7 กรณี และ cerebral venous sinus thrombosis (การเกิดลิ่มเลือดในโพรงหลอดเลือดดำในสมอง) 18 กรณี[169]แม้ยังจะไม่ได้พิสูจน์ว่าวัคซีนเป็นเหตุ สำนักงานการแพทย์ยุโรปก็ระบุว่า จะทำการวิเคราะห์ต่อไปและแนะนำให้บอกคนที่มีสิทธิฉีดวัคซีนว่า ยังไม่ได้พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า วัคซีนไม่เป็นเหตุให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งเกิดน้อย[169]โดยสำนักงานก็ยังยืนยันว่า ประโยชน์มีมากกว่าความเสี่ยง[169]ต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม สำนักงานก็อัปเดตข้อมูลผลิตภัณฑ์ของวัคซีน[170][25][171]

    ตามสำนักงาน มีกรณีเกิดลิ่มเลือดแสนรายที่เกิดโดยธรรมชาติทุก ๆ เดือนในสหภาพยุโรป ดังนั้น ความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดจึงไม่สูงกว่าในกลุ่มที่ได้วัคซีนสำนักงานยังให้ข้อสังเกตด้วยว่า โรคโควิด-19 เองก็เป็นเหตุให้เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดสูงขึ้น ดังนั้น วัคซีนก็จะลดความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดแม้ถ้า 15 กรณีตามที่ว่าจะได้ยืนยันว่าเกิดจากวัคซีน[172]อิตาลีจึงฉีดวัคซีนต่อไปหลังแถลงการณ์นี้[173]และประเทศยุโรปโดยมากก็ทำตามต่อจากนั้นไม่นาน[174]เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าวัคซีนปลอดภัย นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร (บอริส จอห์นสัน) และฝรั่งเศส (ฌ็อง กัสแต็กซ์) ได้ฉีดวัคซีนต่อหน้าสื่อหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนนี้ต่อไปในสหภาพยุโรป[175]

    ในวันที่ 13 เมษายน 2021 สำนักงานส่งสารไปยังแพทย์พยาบาล (direct healthcare professional communication, DHPC) เกี่ยวกับวัคซีนว่า ความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุและผลระหว่างวัคซีนกับภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดบวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อยยังอาจเป็นไปได้ ว่าเกล็ดเลือดน้อยเป็นผลไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่สามัญ (common) แต่ภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดบวกกับการมีเกล็ดเลือดน้อยก็เกิดน้อยมาก (very rare)[176]ตามสำนักงานการแพทย์ยุโรป นี่เป็นเหตกุารณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดน้อยมากราว ๆ 1 รายต่อคนที่ฉีดวัคซีน 100,000 คน[26]

    เหตุการณ์ต่อ ๆ มา

    ประสิทธิศักย์ต่อต้านสายพันธุ์ใหม่

    งานศึกษาในสหราชอาณาจักร (COVID-19 Genomics United Kingdom Consortium, AMPHEUS Project และ Oxford COVID-19 Vaccine Trial Group) ในเดือนเมษายน 2021 ระบุว่า วัคซีนมีประสิทธิศักย์ต่อต้านโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ได้ลดลง (ประสิทธิศักย์ที่ร้อยละ 70.4 สำหรับสายพันธุ์ B.1.1.7 เทียบกับที่ร้อยละ 81.5 สำหรับสายพันธุ์อื่น ๆ)[177]แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ โดยบุคคลที่ได้วัคซีนก็จะมีอาการระยะสั้นกว่าและสร้างไวรัสน้อยกว่า ดังนั้น ก็จะลดการแพร่เชื้อ[178]

    งานศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 พบว่า การกลายพันธุ์แบบ E484K ที่พบในสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) และสายพันธุ์แกมมา (บราซิล) อาจทำให้วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้[179]ในเดือนกุมภาพันธ์ บริษัทจึงเริ่มทำการเพื่อปรับวัคซีนโดยเล็งเป้าที่สายพันธุ์เหล่านี้[180]และคาดว่า วัคซีนที่ปรับใช้จะได้ภายใน 2-3 เดือนโดยใช้ฉีดเสริมสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนดั้งเดิม 2 โดสแรกไปแล้ว[181]

    การฉีดวัคซีนสองเข็มไม่เหมือนกัน

    ในเดือนธันวาคม 2021 มีการลงทะเบียนการทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและสองแบบผสม คือฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เป็นเข็มที่หนึ่ง และฉีดวัคซีนสปุตนิกวี (Ad26, รัสเซีย) เป็นเข็มที่สองอีก 29 วันต่อมา[182]

    หลังจากระงับการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ เนื่องกับการเกิดลิ่มเลือดที่มีน้อยในเดือนมีนาคม 2021 แคนาดาและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มที่สองต่างชนิดกันแม้จะไม่มีข้อมูลการทดลองทางคลินิกในเรื่องประสิทธิศักย์และความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนผสม ผู้ชำนาญการบางพวกก็เชื่อว่า อาจเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยเริ่มมีงานศึกษาที่กำลังตรวจสอบผลเช่นนี้[183][184]

    ในเดือนมิถุนายน 2021 มีผลเบื้องต้นจากงานศึกษากับอาสาสมัคร 463 คนที่แสดงว่า การฉีดวัคซีนผสมโดยฉีดโดสแรกเป็นวัคซีนของแอสตร้าฯ แล้วตามด้วยวัคซีนของไฟเซอร์ ก่อการตอบสนองของเซลล์ทีและก่อระดับแอนติบอดีในระดับที่เกือบสูงเท่ากับวัคซีนของไฟเซอร์สองโดสส่วนการกลับลำดับการฉีดก็จะก่อการตอบสนองของเซลล์ทีลดลงครึ่งหนึ่ง และก่อระดับแอนติบอดีเพียงแค่ 1/7 ถึงกระนั้น ระดับแอนติบอดีที่ว่าก็ยังสูงกว่าการได้วัคซีนแอสตร้าฯ สองเข็มเป็น 5 เท่าการตอบสนองของเซลล์ทีพบว่าต่ำสุดเมื่อฉีดวัคซีนทั้งสองโดสชนิดเดียวกัน[185]

    ใกล้เคียง

    วัคซีนโควิด-19 วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทค วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา วัคซีนโควิด-19 สปุตนิกวี วัคซีนโควิด-19 BBIBP-CorV ของซิโนฟาร์ม วัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน วัคซีนโควิด-19 ของโนวาแวกซ์ วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแว็ก วัคซีนโควิด-19 ของเกาตวาน

    แหล่งที่มา

    WikiPedia: วัคซีนโควิด-19 ของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า http://www.nature.com/articles/d41586-021-00315-5 http://www.theguardian.com/society/2021/apr/08/spa... http://www.theguardian.com/world/2020/nov/26/scrut... http://www.ema.europa.eu/ema/index.jsp?curl=/pages... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18227861 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32861315 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33230278 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33306989 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33323376 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33501433